วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"เขาพระวิหาร"

"เขาพระวิหาร"




ปราสาทเขาพระวิหาร: เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก หมายถึง ภูเขาไม้คาน) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร หมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด
ปราสาทเขาพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท  และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา

ก.ปัญหาเขาพระวิหารตั้งแต่เริ่มต้น
ปี 2447-2451 

            "ฝรั่งเศส" มีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขา "กัมพูชา" ได้เกิด "สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122" (พรมแดนที่เป็นปัญหา ให้ถือเอา "สันปันน้ำ" เป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น...)

            โดยฝรั่งเศส ได้เขียน "แผนที่" ขึ้นมา ในปี 2450 (เป็นปัญหามาจนปัจจุบัน) แต่....ไม่ได้รับการทักท้วงจาก "รัฐบาลไทย" ในเวลาอันควร (เกินกว่า 50 ปี) ซ้ำยังแสดงความขอบคุณ ชื่นชม"ฝรั่งเศส" ด้วยซ้ำ.. (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น คือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

ปี 2493
            "กัมพูชา" ประกาศเอกราช โดยมี "ประเทศไทย" เป็นผู้รับรองลงนามให้เป็นประเทศแรก จากนั้น "กัมพูชา" เริ่มสนใจในเขตแดน และทรัพยากรของตน

ปี 2501 

            เริ่มมีข้อพิพาท "การอ้างสิทธิ์เหนือปราสาทพระวิหาร" ระหว่าง ไทย-กัมพูชา

ปี 2502

            เรื่องเข้าสู่ "ศาลโลก" ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ และศาลฯ ได้รับเรื่องพิจารณาคดี

ปี 2505
            "ศาลโลก" ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ตัดสิน ให้ไทย ตัด "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของ"กัมพูชา" โดยมติ "ไม่เอกฉันท์" 9:3 เสียง ทั้งนี้ไม่ได้กล่าวถึง "พื้นที่ทับซ้อน" และยังไม่ชัดเจนในการบริหารจัดการ

ปี 2540
            พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และกัมพูชา ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจัดทำหลักเขตแดนสำหรับเขตแดนทางบก (Joint Statement on the Establishment of the Thai - Cambodian Joint Commission on the Demarcation for Land Boundary)

ปี 2542
            มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 1 (30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2542) จากนั้น ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ขึ้น

ปี 2543
            14 มิถุนายน 2543 ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ของทั้งสองฝ่าย คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายวาร์ กิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดน ได้ลงนามใน...."MOU 2543"

ปี 2549
            "กัมพูชา" ยื่นขอขึ้นทะเบียน "ปราสาท" เป็นมรดกโลก (ฝ่ายเดียว) ครั้งแรก และจะเนียน..จดรวบพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. โดยอ้างว่า "ไม่ทราบว่ามี" (คือจะเหมาไปหมด ว่างั้น....) เรื่องราวต่อเนื่อง ยืดเยื้อมาถึงปี 2551

ปี 2551
            "รัฐบาลไทย" นำโดย นายกรัฐมนตรี "นายสมัคร สุนทรเวช" และ รมว.ต่างประเทศ คือ"นายนพดล ปัทมะ" ได้ยื่น "แถลงการณ์ร่วม 2551" โดยมี ใจความสำคัญในแถลงการณ์ เพื่อ"คัดค้าน" กัมพูชา 2 ข้อสำคัญ

            1. เป็นการบังคับให้กัมพูชา "ตัดพื้นที่ทับซ้อนออก" ไม่ให้นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก 
            2. เป็นหลักฐานให้เห็นว่ากัมพูชายอมรับว่า "มีพื้นที่ทับซ้อน" ทั้ง ๆ ที่เขาไม่เคยยอมรับเลย ว่ามีพื้นที่ทับซ้อนมาก่อน 

            โดย "รัฐบาลสมัคร" ขอให้ทางกัมพูชา ยื่นขึ้นทะเบียนเฉพาะ "ตัวปราสาท" ให้ "ระงับการยื่นจดพื้นที่ทับซ้อน" ไว้ก่อน เพื่อนำเข้าสู่การเจรจาเพื่อความสงบเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองฝ่าย และ "สันติภาพ" ต่อไป

            เหตุการณ์ ปี 2551 หลังจาก "แถลงการณ์ร่วม" ของไทยครั้งนั้น ทำให้ "กัมพูชา" ไม่สามารถยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก แบบ "เหมาหมด" ได้ จนนำมาสู่การตัดสินคดีความ อันเป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน คือ ในเดือนเมษายน ปี 2556 นี้...

ข.คำพิพากษาศาลโลก 11 พฤศจิกายน 2556
            เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพระราชวังสันติภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับไทยเวลา 16.00 น.) 

ผู้พิพากษา นายปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา เริ่มด้วยการแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทย ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นต่อด้วยคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยสรุป ดังต่อไปนี้

ศาลสรุปว่า ข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่ 1.มีข้อพิพาทว่า คำพิพากษาปี 1962 นั้น ได้ตัดสินหรือไม่ได้ตัดสินว่ามีข้อผูกพันเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่  2.จะมีความสัมพันธ์ในกรณีพิพาท แง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนกัมพูชาในบทปฏิบัติที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962  ศาลได้พูดว่าเป็นผลที่ตามมาจากข้อบทปฏิบัติที่ 1 ยืนยันว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และ 3.ข้อพิพาทเรื่องพันธะกรณีของไทย เรื่องการถอนกำลังทหาร เป็นไปตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 โดยคำนึงถึงความเห็นที่ต่างกัน

ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องตีความข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และผลของกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของสองฝ่าย เรื่องในมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีขอบเขตอำนาจในการตีความ คำพิพากษาปี 1962 จึงรับคำร้องไว้พิจารณา" ผู้พิพากษา กล่าว

ไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความ เมื่อเดือนมิถุนายน 1962 และช่วงที่มีการอ่านคำพิพาษาเดือนธันวาคม 2008 ไทยได้กล่าวว่าพฤิตกรรมดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีส่วนผูกพันคู่ความการตีความซึ่งอาจกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆไป อาจดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล หรือการวินิจฉัยว่าศาลพิจารณาอะไร ไม่ได้อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความ และขอบเขตและความหมายนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคู่ความในภายหลังในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น ศาลเห็นว่าคำพิพากษาเมื่อปี 1962 (พ.ศ.2505) นั้นมีลักษณะ 3 ประการที่เห็นได้ชัด

1.ศาลพิจารณาว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเกี่ยวกับที่ตั้งปราสาทและศาลไม่ได้มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 ได้ดูคำคัดค้านเบื้องต้นว่า กรณีนี้เป็นประเด็นเรื่องเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเรื่องการกำหนดเขตแดน เพราะฉะนั้น เรื่องข้อ 1 และ 2 ของกัมพูชานั้น ศาลจะรับพิจารณาไว้เท่าที่เป็นเหตุและไม่ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ศาลต้องชี้ขาดในข้อบทปฏิบัติการ โดยไม่มีการกล่าวถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ในข้อบทปฏิบัติการ ไม่มีการแนบแผนที่คำพิพากษา และศาลไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการใช้ แผนที่ภาคผนวก1 ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างนั้น มีความสำคัญในเรื่องเขตแดน

ประการที่ 2 แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของคดี และพิจารณาผลความเกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญา ศาลเห็นว่า ประเด็นหลักคือคู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดนอันเป็นผลของคณะกรรมการปักปันเขตแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเข้าไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสให้การต้อนรับ ศาลเห็นว่า เหมือนเป็นการยอมรับโดยทางอ้อมของสยามในอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร รวมทั้งพฤติกรรมอื่นๆ ของไทยในเวลาต่อมา ถือว่าเป็นการยืนยันของไทยในการยอมรับเส้นแบ่งเขตแดน ในภาคผนวก 1

โดยไทยในปี 1908 (พ.ศ.2451) และ1909 (พ.ศ.2452) ได้ยอมรับว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นผลของคณะกรรมการปักปัน และยอมรับว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา การยอมรับของคู่ความสองฝ่าย ทำให้แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา จึงเห็นได้ว่า การตีความสนธิสัญญาจะต้องชี้ขาดว่า แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นแผนที่ในพื้นที่ขัดแย้ง

3.ศาลได้มีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น เป็นบริเวณที่เล็กมาก ปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า พื้นที่พิพาทเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก และในถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีความขัดแย้งกัน ในปี 1962 คำพิพากษาได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่พิพาทกันเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก หลังการพิจารณาคดี ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นด้วย ว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ทางทั่วไปถือว่าเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศ คือทางใต้ของกัมพูชาทางใต้และทางเหนือของไทย

ส่วนแผนที่ภาคผนวก 1 ได้วางเขตแดน ศาลก็ได้บอกว่าจะพิจารณาเฉพาะบริเวณนี้เท่านั้นตามคำพิพากษา 1962 ศาลจึงได้ดูข้อบทปฏิบัติการ วรรค 2 และ 3 เป็นผลสืบเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1 จึงเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการทั้งสามต้องอ่านเป็นข้อบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่สามารถดูคำใดคำหนึ่งเพื่อตีความได้

ศาลเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจน วรรคดังกล่าวศาลเห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา แต่คงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาที่ขอบเขต เมื่อพิจารณาข้อ 2 และ 3 ข้อพิพาททั้งสองขัดกันที่ข้อ 2

แต่ข้อ 2 พูดถึงเพียงว่าไทยจะต้องถอนเจ้าหน้าที่ ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาและไม่ได้กล่าวว่า การถอนจะต้องถอนไป ณ ที่ใด ข้อบทปฏิบัติการได้พูดถึงเขตแดนแค่บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลไม่ได้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอนกำลังออกไปที่ใดบ้าง บอกแต่ว่าเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่นั้น

ข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ระบุว่า ไทยต้องถอนทหาร และเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ในปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลจึงเห็นว่าจะต้องเริ่มโดยดูจากหลักฐานพยานปี 1962 เกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยประจำอยู่ พยานหลักฐานเดียวที่มีคือ ที่ไทยนำเสนอซึ่งได้มีการเยี่ยมชมเมื่อ 1961 ระหว่างการพิจารณาคดีในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานผู้เชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คนและตำรวจ มีการตั้งแคมป์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท และไม่ไกลก็มีบ้านพักอยู่ มีสถานีตำรวจนั้น ทางทนายฝ่ายไทยอ้างว่า อยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่เหนือของเส้นสันปันน้ำ ระหว่างการพิจารณาคดีปี 1962 กัมพูชาได้นำเสนอข้อต่อสู้อีกข้อว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน"




           ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณปราสาทพระวิหาร การอ้างถึงสันปันน้ำ โดยทนายไทยนั้นเป็นสำคัญ เพราะอ้างว่าการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกับที่กัมพูชาเสนอ เพราะฉะนั้นการที่มีสถานีตำรวจไทยตั้งอยู่เหนือเส้นสันปันน้้ำ ที่เป็นไปตามมติ ครม. ของไทย ที่ไทยบอกว่าอยู่นอกบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เมื่อไทยถูกบอกว่าให้ถอนทหาร บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่ประจำการ ตามคำเบิกความของไทยในคดีนั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยประจำการบริเวณอื่นแต่อย่างใด บริเวณปราสาทพระวิหารควรจะยาวไปถึง สถานที่หรือที่ตั้งมั่นของตำรวจในขณะนั้น เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศไทยได้

"ดังนั้น ศาลพิจารณาพื้นที่ที่จำกัด ทั้งตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือตามเหตุผล ถือว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ศาลเห็นว่าพื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ควรขยายให้ครอบคลุมชะง่อนผา เพื่อนำมาใช้แทนที่ส่วนที่ได้มีการเลือกโดยมติ ครม.1962 ในข้อพิจารณาของกัมพูชาทางศาลไม่ได้สามารถทำคำจำกัดความ เกี่ยวกับคำว่า "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ว่าครอบคลุมนอกจากชะง่อนผาและภูมะเขือ ซึ่งศาลถือว่าไม่ได้เป็นการตีความที่ถูกต้องตามข้อ 1 ภูมะเขือในแผนที่นั้นเป็นพื้นที่ส่วนที่ต่างหากออกไป จากแผนที่ปี 1961 หรือแผนที่ซึ่งเป็นเอกสารแนบ

ข้อ 2 มีข้อพิจารณาในการพิจารณาปี 1961 ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือ อยู่ภายในปราสาทพระวิหารในการพิจารณาข้อพิพาท ดังนั้น อดีตผู้ว่าการจังหวัดของกัมพูชา ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของอีกจังหวัด แต่ถือว่าภูมะเขือเป็นจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชา ขณะเดียวกันจังหวัดนี้ก็เล็กเกินกว่าที่ครอบคลุมพระวิหาร และภูมะเขือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่สำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณา 

ข้อ 3 ไม่ได้มีหลักฐานในการนำเสนอต่อศาลว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ไทยหรือกำลังทหารอื่นๆ ของไทย อยู่บริเวณนั้น รวมถึงบริเวณพื้นที่ภูมะเขือซึ่งทำให้ไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณนั้น"

ท้ายสุด การที่กัมพูชาต้องการให้ตีความแผนที่ภาคผนวก 1 เกี่ยวกับเส้นสันปันน้ำของไทยนั้น ศาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่าสันปันน้ำอยู่ที่ใด จึงเป็นไปไม่ได้ว่าศาลได้พิจาณาเรื่องสันปันน้ำ บอกไม่ได้ว่า อาณาบริเวณใดเป็นของปราสาทพระวิหาร ในปี 1962 ศาลไม่ได้พิจารณาบริเวณที่กว้างขวางมาก และไม่ได้กำหนดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องครอบคลุมจากชะง่อนผาของพระวิหาร แต่คำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าบริเวณภูมะเขืออยู่ในไทย เพราะศาลไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้

ด้วยเหตุผลของการพิจารณา 1962 ตามที่ได้มีการร้องขอในกระบวนการพิจาณาของศาล ได้พิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านตะวันออก, ใต้ และตะวันตกฉียงใต้ ได้มีชะง่อนผา และปี 1962 สองฝ่ายได้ตกลงกันว่าพื้นที่นั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาและพื้นที่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงหนือ ซึ่งมีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่า และแยกปราสาทพระวิหารออกจากภูมะเขือ ก่อนที่จะลาดลงสู่พื้นที่ราบของกัมพูชา ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่และคำพิพากษาปี 1962 ไม่ได้พิจารณาว่าภูมะเขืออยู่ในไทยหรือกัมพูชา

ดังนั้น ชะง่อนหน้าผา และภูมะเขือ จะเริ่มที่จะยกสูงขึ้นจากพื้นราบนั้น ก็เป็นเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 โดยเส้นนั้น จะสูงขึ้นไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและตามคำพิพากษา 1962 ได้มีการกำหนดให้ไทย ถอนกำลังออกจากบริเวณนั้น โดยต้องถอนทั้งหมด ศาลเข้าใจเรื่องที่ไทยระบุถึงการถ่ายโอนแผนที่เพื่อกำหนดพื้นที่เจาะจงตามเรื่องของวรรคดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ ข้อพิจารณาอีกประการคือในปี 1962 ศาลไม่ได้กำหนดจะตีความคำพิพากษา การที่เราจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม พันธกรณีดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจึงไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้

คำพิพากษาปี 1962 ต้องมีการพิจารณาอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เรื่องวรรค 2 ศาลพิจารณา เรื่องความสัมพันธ์ของวรรคนี้ กับข้อบทปฏิบัติการ ขณะที่ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ไม่ได้มีการพิจราณา แต่สามารถทำให้เข้าใจได้ในข้อบทปฏิบัติอื่นๆ ในคำตัดสินของศาล เรื่องขอบเขตข้อพิพาท เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ดังนั้น ศาลจึงได้ตัดสินใจข้อปฏิบัติการที่ 1 ว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชาและไทย จึงมีพันธะถอนกำลังทหารและอื่นๆ ออกจากพื้นที่ของเขมร ในแถบของพระวิหาร และข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ทำให้เกิดพันธะกรณีที่ครอบคุลมพื้นที่ขยาย เกินกว่าขอบเขตของปราสาทพระวิหารเอง ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ถือว่า เป็นพื้นที่ของกัมพูชาและคำบรรยายนี้ศาลถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยปริยาย จากข้อบทปฏิบัติการที่ 3

ศาลสรุปว่า ชะง่อนผาในแผนที่ภาคผนวก 1 อยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา เป็นประเด็นข้อพิพาท 1962 เป็นประเด็นหัวใจของข้อขัดแย้งนี้ นอกจากนี้ ศาลไม่ได้พิจารณาว่าพันธะกรณีที่เกิดขึ้นในข้อบทปฏิบัติการที่ 2 เป็นสิ่งที่ไทยต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ไทยได้รับว่าไทยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องเคารพบูรณาการ ของกัมพูชา หมายความว่า ครอบคลุมพื้นที่ของอธิปไตยกัมพูชา หลังการแก้ปัญหาอธิปไตยแล้ว ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการตามพันธะกรณี และเคารพบูรณาการของสองประเทศ และมีหน้าที่แก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างกันด้วยิวิธีการอื่น

ด้วยหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ เป็นเรื่องชัดเจนที่คำฟ้องทั้งสองฝ่ายปี 1952 และ 1962 ปราสาทพระวิหารถือว่าเป็นวัตถุโบราณสำหรับทั้งสองฝ่าย ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว ศาลเห็นว่าภายใต้การทำงานของทั้งสองฝ่าย ไทยและกัมพูชาต้องคุยกันเอง หารือกันเอง โดยมียูเนสโกควบคุม ในฐานะที่เป็นมรดกโลก แต่ละรัฐมีพันธะกรณีที่ต้องดูแลและปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ไว้ ภายใต้บริบทเหล่านี้ศาลต้องการเน้นว่า การเข้าถึงปราสาทพระวิหารต้องเข้าถึงจากทางกัมพูชาด้วยเช่นกัน

"ด้วยเหตุนี้ ศาลมีมติเอกฉันท์ 2 ประการดังนี้ คือ 1.ด้วยอำนาจตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ทำให้การขอตีความของกัมพูชานั้น สิ่งเหล่านี้ ศาลมีอำนาจรับคำร้อง 2.โดยมติเอกฉันท์ ศาลขอประกาศว่า ผลจากการพิจารณาคำขอตีความคำพิพากษา ณ วันที่ 15 มิถุนายน 1962 ตามที่วินิจฉัยไว้ในความในย่อหน้า 98 ของคำพิพากษาใหม่นี้วินิฉัยได้ว่า กัมพูชามีอธิปไตยทั้งหมดเหนือชะง่อนผาที่ตั้งปราสาทพระวิหาร อันยังผลให้ไทยมีพันธะต้องถอนกำลังออกจากเขตแดนตรงนั้นทั้งกำลังทหารและตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รักษาการอื่นๆ หรือ ผู้ดูแลรักษา ออกไปพ้นจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวนั้น" ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าว




วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

'' MotheR DaY ''

วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม
      



ความเป็นมา
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

 
ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร  ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)
ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  การศึกษา พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย

พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น
ทรงหมั้น วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย

อภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495

พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

พระคุณแม่ยิ่งใหญ่กว่าใครผอง แม่อุ้มท้องลูกรักนานหนักหนา
ให้กำเนิดเฝ้าเลี้ยงดูตลอดมา ในโลกาหาใครมาเทียมทัน
วันลูกเกิดอกแม่เจ็บเหมือนเหน็บศร แต่ก็ซ่อนความดีใจไม่เหหัน
น้ำตาแห่งความดีใจไหลเร็วพลัน สุดตื้นตันดวงใจได้ลูกยา
นมสองเต้าของแม่แน่แนบจิต แม่อุทิศเลือดเนื้อเพื่อลูกหนา
น้ำนมแม่กลั่นจากอกยกออกมา ให้ลูกยาดื่มด่ำอย่างหนำใจ


'' I LOVE MY MOTHER ''



วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย





             นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย เริ่มเข้าสู่ตำแหน่งสมัยที่ 2 แล้ววานนี้ หลังจากพรรคพันธมิตรที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 56 ปี ชนะการเลือกตั้งได้อยู่ในตำแหน่งต่ออีกสมัย ขณะที่ฝ่ายค้านกล่าวว่า การมีการทุจริตการเลือกตั้ง นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้าน เรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงชัยชนะของฝ่ายรัฐบาลนาน 2 วัน ซึ่งเขาระบุว่า เป็นชัยชนะที่ได้มาโดยการทุจริตเลือกตั้งครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ทั้งนี้ พรรคพันธมิตรบาริซัน เนชันแนล หรือพรรคแนวหน้าแห่งชาติ ของนายนาจิบ ซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 ได้ครองเสียงข้างมากในสภาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมกันในวันพรุ่งนี้ที่สนามกีฬาชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อประณามสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขณะที่สหรัฐแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามระเบียบปกติจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งระบุว่า พรรคบาริซัน ฝ่ายรัฐบาลโดยได้ที่นั่งในสภา 133 ที่นั่ง จากทั้งหมด 222 ที่นั่ง ขณะที่ฝ่ายค้านได้ 89 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 14 ที่นั่ง แต่ฝ่ายรัฐบาลได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์ ณพระบรมมหาราชวังในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อทำพิธีสาบานตนและถวายสัตย์ปฏิญาณ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อย่างเป็นทางการแล้ว